วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเริ่มต้นออกกำลังกาย

การเริ่มต้นออกกำลังกาย

กระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกาย
  • ให้นึกถึงเป้าหมายเรื่องน้ำหนักที่จะลด
  • ท่านอาจจะไม่ได้นึกถึงตัวเอง ท่านต้องนึกถึงลูกหลาน หากท่านออกกำลังกายเป็นประจำเมื่อท่านสูงอายุท่านอาจจะดูแลลูกหลานได้ หากท่านไม่ดูแลตัวเองท่านอาจจะเป็นภาระสำหรับลูกหลาน
  • นึกถึงโรคที่ท่านกลัวหรือโรคของครอบครัว หากท่านไม่ดูแลตัวเอง โรคต่างๆจะมาเยี่ยมท่าน
  • นึกถึงความผ่อนคลายหลังการออกกำลังกาย นอนหลับสบายกว่าคนไม่ได้ออกกำลังกาย
  • นึกถึงสุขภาพ หากสุขภาพดีท่านจะทำงานได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลัง



หลายท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อนเมื่อเริ่มออกกำลังอาจจะทำให้เหนื่อยง่าย วิธีที่ดีที่สุดของการเริ่มต้นออกกำลังกาย คือให้เริ่มออกกำลังกายจากกิจวัตรประจำวัน เช่น
  • ใช้การเดินหรือขี่จักรยานเมื่อไปที่ไม่ไกล
  • หยุดใช้รถหนึ่งวันแล้วใช้การเดินไปทำงานสำหรับผู้ที่บ้านและที่ทำงานไม่ไกล
  • ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์หรือบันไดเลื่อน
  • ขี่จักรยานรอบหมู่บ้าน
  • ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน
  • ออกกำลังโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตก่อน เช่น การทำสวน การเดินขึ้นบันได การเต้นรำซึ่งยังไม่ได้เกณฑ์ aerobic แต่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจจะได้ประมาณร้อยละ 50 เมื่อออกกำลังต่อเนื่องเป็นเวลา 5-6 เดือนก็จะเพิ่มการเต้นของหัวใจได้ถึงร้อยละ 75-85
ทำกิจวัตรเหล่านี้ทุกวันเป็นเวลา 2-3 เดือนจึงเริ่มต้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เช่น
  • การเดินให้เร็วขึ้นสลับกับการเดินช้า
  • ขี่จักรยานนานขึ้น
  • ขึ้นบันไดหลายขั้น
  • ขุดดินทำสวนนานขึ้น
  • ว่ายน้ำ
  • เต้นแอร์โรบิค แต่ไม่ต้องนาน
  • เต้นรำ
  • เล่นกีฬา เช่น ปิงปอง แบดมินตัน เทนนิส
หลังจากที่เตรียมความพร้อมร่างกายแล้วเรามาเริ่มต้น ฟิตร่างกายกัน
หลังจากเตรียมความพร้อมแล้ว คุณได้ออกกำลังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันแล้วหากคุณต้องการฟิตร่างกายก็สามารถทำได้โดย
  • โดยการวิ่งเร็วขึ้น นานขึ้น
  • ว่ายน้ำนานขึ้น
การฟิตร่างกาย คุณต้องติดตามความก้าวหน้าของการออกกำลังกายเช่น เวลาที่ใช้ในการออกกำลังเพิ่มขึ้น ระยะทางในการออกกำลังเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นได้ดี

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

ผลต่อโรคความดันโลหิตสูง(140/90)

  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 35%
  • การออกกกำลังอย่างสท่ำเสมอจะลดทั้งความดัน systole และ diastole อย่างชัดเจน
  • คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีอัตราการเสี่ยงชีวิตจากโรคแทรกซ้อน น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลัง
  • การออกกำลังจะช่วยเพิ่มอายุ 1-1.5ปี



ผลต่อโรคเส้นเลือดสมอง

  • อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงเมื่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
  • เมื่อขึ้นบันไดวันละ 20 ขั้นจะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงร้อยละ 20
  • ผู้ที่ออกกกำลังกายโดยการเดินเร็วๆสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงจะมีอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงร้อยละ 40

ผลต่อโรคเบาหวาน

  • ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 42
  • ผู้ออกกกำลังมากจนกระทั่งเหงื่อออก 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีอุบัติการของการเกิดโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 22

ผลต่อหัวใจ

  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาศเสียชีวิตเป็นสองเท่าของผู้ที่ออกกำลังกาย
  • การออกกำลังกายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น
  • การออกกำลังกายจะทำให้หัวใจสะสมพลังงานไว้ใช้เมื่อเวลาหัวใจต้องทำงานหนัก
  • เพิ่มความแข็งแรงในการบีบตัวของหัวใจ
  • ลดระดับไขมันในเลือด เพิ่มระดับ HDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ดี)
  • ลดระดับความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง

ผลต่อภูมิคุ้มกัน

  • การออกกำลังกายปานกลางจะลดการเกิดโรคทางเดินหายใจลงร้อยละ 29
  • สำหรับการออกกำลังกายอย่างหนัก เช่นการวิ่งมาราธอน พบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
  • นอกจากนั้นการเจาะเลือดพบว่าผู้ออกกำลังกายจะมีการอักเสบลดลง( c reactive proteine)

ผลต่อมะเร็ง

  • การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 46

ผลต่อคุณภาพชีวิต

  • การออกกำลังกาย 1500 กิโลแครอรีต่อสัปดาห์(ออกกำลังกายหนักปานกลาง)จะเพิ่มอายุ 1.57 ปีและลดอุบัติการการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลงร้อยลง 67
  • สำหรับผู้สูงอายุทุก 1 ไมล์ที่เดินจะลดอุบัติการเสียชีวิตลงร้อยละ 19
  • การออกกกำลังอย่างสม่ำเสมอ(อายุ 45-84)จะลดการเสียชีวิตร้อยละ 18

การออกกำลังกายและโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าและโรคอ้วนมักจะมีสาเหตุร่วมกันได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล และการมองว่าตัวเองด้อยค่า การออกกำลังกายจะทำให้มีการเพิ่มของ serotonin และ endorphins ซึ่งสารทั้งสองจะทำให้ลดความเครียด ลดความกังวล และเชื่อว่าการออกกำลังกายจะรักษาโรคซึมเศร้าในกรณีที่เป็นไม่มาก
การนอนหลับ
การออกกำลังกายจะทำให้การนอนหลับดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น